สรุปใจความของคำว่า บารมี ได้ดังนี้ คือ บารมี หมายความว่า ปราบข้าศึก, ยินดีในการสร้างความดี, รักษาความเป็นผู้สูงสุดของตนไว้, ยังความเป็นผู้สูงสุดของตนให้เต็มเปี่ยม, สามารถ, ยอดเยี่ยมฯ
คำว่า บารมี โดยส่วนใหญ่จำแนกออกเป็น ๑๐ ประการ คือ
๑. ทานบารมี
๒. ศีลบารมี
๓. เนกขัมบารมี
๔. ปัญญาบารมี
๕. วิริยบารมี
๖. ขันติบารมี
๗. สัจจบารมี
๘. อธิษฐานบารมี
๙. เมตตาบารมี
๑๐. อุเบกขาบารมี
โดยส่วนละเอียด จำแนกออกไปอีกเป็นอย่างละ ๓ จึงรวมเป็นบารมี ๓๐ ทัศพอดี ดังนี้คือ
๑. ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี
๒. ศีลบารมี ศีลอุปบารมี ศีลปรมัตถบารมี
๓. เนกขัมมบารมี เนกขัมมอุปบารมี เนกขัมมปรมัตถบารมี
๔. ปัญญาบารมี ปัญญาอุปบารมี ปัญญาปรมัตถบารมี
๕. วิริยบารมี วิริยอุปบารมี วิริยปรมัตถบารมี
๖. ขันติบารมี ขันติอุปบารมี ขันติปรมัตถบารมี
๗. สัจจบารมี สัจจอุปบารมี สัจจปรมัตถบารมี
๘. อธิษฐานบารมี อธิษฐานอุปบารมี อธิษฐานปรมัตถบารมี
๙. เมตตาบารมี เมตตาอุปบารมี เมตตาปรมัตถบารมี
๑๐. อุเบกขาบารมี อุเบกขาอุปบารมี อุเบกขาปรมัตถบารมี
เพื่อจำง่าย ท่านจึงผูกเป็นคำรวมเรียกพระบารมีมาช่วยในยามคับขัน หรือท่องบ่นสาธยาย ทำใจให้สบาย สงบ เยือกเย็น เป็นสมถกรรมฐาน ดังนี้ว่า
“อายนฺตุ โภนุโน อิฐ ทานสีลเนกฺขมฺมปญฺญา
วิริยขนฺตสจฺจาธิฏฐานเมตฺตุเปกขา ยุทฺธาย โว คณฺหถ อาวุธานีติ”
ดูกรพระบารมีทั้งหลาย ขอเชิญพระบารมี คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตา และอุเบกขา จงมาในที่นี้ โดยเร็วพลัน แล้วพากันถือเอาอาวุธ เพื่อต่อยุทธ์กับพญามารเถิดฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น